มาดูบล็อกผมกันครัช ^..^

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต

จรรยาบรรณการใช้อินเตอร์เน็ต

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต 
         
     ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตนั้น มีเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการใช้งานระบบเครือข่ายนี้ก็ย่อมจะมีผู้ที่ประพฤติไม่ดี และสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นเสมอ ดังนั้นแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ข้อบังคับไว้ และในฐานะผู้ใช้งานที่ได้รับสิทธิ์ ให้ใช้งานเครือข่ายนั้นก็ควรที่จะต้องเข้าใจ และปฏิบัติตามกฎที่ได้ถูกวางไว้ เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในระบบอินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างสงบสุข จึงได้มีผู้พยายามรวบรวม กฎ กติกา มารยาท และวางเป็นจรรยาบรรณอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Netiquetteความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝัง กฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่าย จึงต้องมีและวางระเบียบเพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน อนาคตของการใช้เครือข่าย ยังมีอีกมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้ สังคมสงบสุข
จรรยาบรรณ ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ต้องยึดถือไว้เสมือนเป็น แม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและ เตือนความจำอยู่เสมอ
บัญญัติ 10 ประการ  คือ 
     1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
     2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
     3. ต้องไม่สอดแนม หรือมาแก้ไขเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
     4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
     5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
     6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรม ที่ผู้อื่นมีลิขสิทธิ์ และไม่ได้รับการอนุญาต
     7. ต้องไม่ละเมิด การใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
     8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตน
     9. ต้องคำนึงถึง สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม อันติดตามมาจาก การกระทำของตน
    10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพ กฎระเบียบ กติกา มารยาท

จรรยาบรรณ เกี่ยวกับการใช้ ระบบสนทนาแบบ Online
     1. ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จัก และต้องการจะสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
     2. ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่น ที่กำลังทำงานอยู่อาจจะสร้างปัญหาได้
     3. ก่อนการเรียกคู่สนทนา ควรตรวจสอบสถานะ การใช้งานของคู่สนทนา ที่ต้องการเรียก เสียก่อนเพราะการเรียกแต่ละครั้ง จะมีข้อความไปปรากฏที่หน้าจอ ของฝ่ายที่ถูกเรียก ซึ่งก็สร้างปัญหาในการทำงานได้ เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง FTP อยู่ ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
     4. หลังจากเรียกไปชั่วขณะ คู่ที่ถูกเรียกไม่ตอยกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียก เพราะข้อความที่เรียกไป ปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
     5. ควรใช้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน
จรรยาบรรณเกี่ยวกับเวิล์ดไวด์เว็บ
      1) ห้ามใส่รูปภาพที่มีขนาดใหญ่ไว้ในเว็บเพจของท่าน เพราะทำให้ผู้ที่เรียกดูต้องเสียเวลามากในการแสดงภาพเหล่านั้น ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนมากเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโมเด็ม ทำให้ผู้เรียกดูรูปภาพขนาดใหญ่  เบื่อเกินกว่าที่จะรอชมรูปภาพนั้นได้
     2 ) เมื่อเว็บเพจของท่านต้องการสร้าง link ไปยังเว็บเพจของผู้อื่น ท่านควรแจ้งให้เจ้าของ
เว็บเพจ นั้นทราบ ท่านสามารถแจ้งได้ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
     3 ) ถ้ามีวิดีโอหรือเสียงบนเว็บเพจ ท่านควรระบุขนาดของไฟล์วิดีโอหรือไฟล์เสียงไว้ด้วย (เช่น 10 KB, 2 MB เป็นต้น) เพื่อให้ผู้เรียกดูสามารถคำนวนเวลาที่จะใช้ในการดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอหรือไฟล์เสียงนั้น
     4 ) ท่านควรตั้งชื่อ URL ให้ง่าย ไม่ควรมีตัวอักษรตัวใหญ่ปนกับตัวอักษรตัวเล็ก ซึ่งจำได้ยาก
     5 ) ถ้าท่านต้องการเรียกดูข้อมูลจาก URL ที่ไม่ทราบแน่ชัด ท่านสามารถเริ่มค้นหาจาก domain address ได้ โดยปกติ URL มักจะเริ่มต้นด้วย www แล้วตามด้วยที่อยู่ของเว็บไซด์
เช่น http://www.nectec.or.th/ http://www.tv5.co.th/ http://www.kmitl.ac.th/
     6 ) ถ้าเว็บไซด์ของท่านมี link เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ ด้วยรูปภาพเท่านั้น อาจทำให้ผู้เรียกดูที่ใช้โปรแกรมบราวเซอร์ที่ไม่สนับสนุนรูปภาพ ไม่สามารถเรียกชมเว็บไซด์ของท่านได้ ท่านควรเพิ่ม link ที่เป็นตัวหนังสือเพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ ด้วย
     7) ท่านไม่ควรใส่รูปภาพที่ไม่มีความสำคัญต่อข้อมูลบนเว็บเพจ เนื่องจากไฟล์ของรูปภาพมีขนาดใหญ่ ทำให้เสียเวลาในการเรียกดูและสิ้นเปลือง bandwidth โดยไม่จำเป็น
    8 ) ท่านควรป้องกันลิขสิทธิ์ของเว็บไซด์ด้วยการใส่เครื่องหมาย trademark (TM) หรือเครื่องหมายCopyright ไว้ในเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย
       9) ท่านควรใส่ email address ของท่านไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้า เพื่อให้ผู้เรียกชมสามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือติดต่อท่านได้
     10) ท่านควรใส่ URL ของเว็บไซด์ไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในอนาคตสำหรับผู้ที่สั่งพิมพ์เว็บเพจนั้น
     11 ) ท่านควรใส่วันที่ของการแก้ไขข้อมูลบนเว็บไซด์ครั้งสุดท้ายไว้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียกชมทราบว่าข้อมูลที่ได้รับนั้น มีความทันสมัยเพียงใด
     12 ) ห้ามไม่ให้เว็บไซด์ของท่านมีเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ มีเนื้อหาที่ตีความไปในทางลามกอนาจารหรือการใช้ความรุนแรง เนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมาย ผู้จัดทำเว็บไซด์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อเนื้อหาและข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซด์นั้น

ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณ 

พรบ. คอมพิวเตอร์


หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า
               
 อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
                 “
ข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์
ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
                “
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึง
แหล่งกำเนิดต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร
ของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
                “
ผู้ให้บริการหมายความว่า
                                (
๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น
                
โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                                (
๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                “
ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
                “
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                “
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ
ออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น 
มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าว
ไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น
มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
ที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไป
ใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
โดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา
ของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง                 และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ  ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
                หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาท
                ถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
ตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ
    (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์
                อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
    (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ                 โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
      (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ                 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
      (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ                 ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
      (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏ
เป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูล
คอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิด
ตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหาย
ได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหาย
ได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร


ขอขอบคุณแหล่งที่มา http://www.amnathos.go.th/row.html

ภัยจากอินเทอร์เน็ต


10 ภัย อินเตอร์เน็ต
1.ภัยมัลแวร์และเทคนิควิศวกรรมสังคม
จัดได้ว่าเป็นภัยอันดับหนึ่งของวันนี้ เนื่องจากปัญหามัลแวร์ ประกอบด้วยปัญหาไวรัส, วอร์มและสปายแวร์ ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันทั่วโลกจนกลายเป็นเรื่องที่คนไอทีหลายคนมองว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว

ปัญหาใหญ่คือ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสรุ่นเก่าไม่สามารถตรวจพบสปายแวร์ได้ ทำให้ต้องใช้โปรแกรมประเภทแอนตี้สปายแวร์เพิ่มเติม ในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิต โปรแกรมแอนตี้ไวรัสได้พยายามรวมคุณสมบัติในการปราบไวรัส, วอร์ม และสปายแวร์เข้าด้วยกัน เรียกว่า converged desktop security เพื่อให้สามารถตรวจจับมัลแวร์ได้มากขึ้น วิธีการป้องกันมัลแวร์ที่ได้ผลควรใช้โปรแกรมตรวจจับมัลแวร์มากกว่า 1 โปรแกรม เรียกเทคนิคนี้ว่า "multiple anti-Malware technique"    
2. ภัยสแปมเมล์
เป็นภัยอันดับสองรองจากภัยมัลแวร์ เนื่องจากต้องติดต่อกันผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เมล์กันเป็นประจำ จนเรียกได้ว่ากลายเป็นเรื่องปกติเหมือนกับการใช้โทรศัพท์มือถือไปแล้ว ถ้าหากเราไม่มีเทคโนโลยีในการป้องกันสแปมเมล์ที่ดี เราอาจได้รับสแปมเมล์ถึงวันละ 50-100 ฉบับต่อวัน ซึ่งทำให้ต้องเสียเวลาในการกำจัดเมล์เหล่านั้น ตลอดจนสแปมเมล์ยังเป็นตัวการหลักในการพาโปรแกรมมัลแวร์ต่างๆ เข้ามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอย่างง่ายดาย ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เมล์ ทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องก็คือ การติดตั้งระบบป้องกัน สแปมเมล์ที่บริเวณ E-mail gateway 

สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ไม่ควรเปิดเผย E-mail address ขององค์กรสู่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศในเว็บไซต์ขององค์กรเอง หรือประกาศตามเว็บบอร์ดทั่วไป ซึ่งอาจนำมาสู่การขโมยอีเมล์โดยใช้โปรแกรมประเภท E-mail harvester ทำงานโดยการ E-mail address จากเว็บไซต์ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต
3. ภัยจากการใช้โปรแกรมประเภท IM และ P2P โปรแกรมประเภท IM หรือ instant messaging
เช่น MSN เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างสูง หลายคนใช้ MSN แทนการคุยผ่านโทรศัพท์ แต่เปลี่ยนเป็นการ "chat" แทน ทำให้เกิดสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ขึ้น มีประโยชน์ช่วยให้หลายคนประหยัดค่าโทรศัพท์ได้ แต่ปัญหาของโปรแกรมประเภท IM ก็คือโปรแกรมมัลแวร์หรือไวรัสต่างๆ นิยมใช้โปรแกรม IM เป็นช่องทางในการกระจายไฟล์มัลแวร์โดยผ่านทางการดาวน์โหลดโดยใช้โปรแกรม IM 

4. ภัยกับดักหลอกลวงผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เมล์ และการโจมตีผู้เล่นเกมออนไลน์
เป็นปัญหาการหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ตโดยวิธีการใหม่ของแฮกเกอร์ ที่เรียกว่า phishing กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มแฮกเกอร์ที่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางด้านการเงิน เช่น ขโมยเงินจากการใช้งานธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ลักษณะ การโจมตีแบบ phishing คือการแกล้งส่งอิเล็กทรอนิกส์เมล์มาหลอกผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง หรือการซื้อสินค้าจากอินเทอร์เน็ต เช่น Amazon, eBay และ PAYPAL ก็ล้วนเป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้ไม่หวังดีทั้งสิ้น 

5. ภัยการโจมตีระบบด้วยวิธี DoS หรือ DDoS 
เป็นการโจมตีเว็บไซต์หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายขององค์กรให้เกิดความเสียหายจนไม่สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ เป็นวัตถุประสงค์ของแฮกเกอร์ที่ต้องการ "ล่ม" เว็บไซต์ หรือ "ล่ม" ระบบของเป้าหมาย ทำให้เกิดปัญหากับลูกค้าขององค์กรในกรณีที่องค์กรเน้นการให้บริการลูกค้าออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต 

6. ภัยการโจมตี web server และ web application
เป็นการโจมตีเว็บไซต์โดยโจมตีผ่านทางช่องโหว่ของ web server หรือ web application ที่เขียนโปรแกรมโดยไม่มี "security awareness" ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้ามาแก้ไขข้อมูลในเว็บไซต์ เช่น เปลี่ยนหน้า web page ที่เรานิยมเรียกว่า "web defacement" หรือการเข้ามาแอบขโมยไฟล์ข้อมูลที่สำคัญๆ ในเว็บไซต์เพื่อนำไปทำประโยชน์ในทางมิชอบ โดยการโจมตี web server และ web application ดังกล่าวสามารถทำได้ทั้งหมด 10 วิธีตามคำแนะนำของ OWASP (open web application security project) top 10 web hacking (ดูรายละเอียดได้ที่ www.acisonline.net) 

7. ภัยเครือข่ายหุ่นยนต์  การโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังออนไลน์กับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
เช่น cable modem หรือ ADSL โดยไม่ได้มีการป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยเพียงพอ ทำให้แฮกเกอร์สามารถยึดเครื่องเหล่านั้นเป็นสมบัติส่วนตัวของแฮกเกอร์ โดยเครื่องที่ถูกยึดเรียกว่า "BOT" หรือ "zombie" เมื่อแฮกเกอร์สามารถยึดเครื่องได้หลายๆ เครื่องพร้อมกันเลยเรียกว่า "BOTNET" หรือ "RoBOT network" ซึ่งแฮกเกอร์สามารถควบคุมได้จากหลายร้อยเครื่องไปจนถึงเป็นหลักแสนเครื่อง เพื่อให้เหล่าสแปมเมอร์เช่าใช้ในการส่งสแปมเมล์หรือส่งโปรแกรมโฆษณา (adward) ในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางสแปมเมล์ 

8.  ภัยแฝงแอบซ่อนเร้น ปัญหาภัย BOTNET
ดูเหมือนจะมีความเชื่อมโยงกับปัญหาภัย ROOTKITS เพราะหลังจากแฮกเกอร์ได้ยึดเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมายแล้ว แฮกเกอร์มักจะติดตั้งโปรแกรมพิเศษที่เรียกว่า "ROOTKITS" ลงในเครื่องดังกล่าว เพื่อให้แฮกเกอร์สามารถเข้ามาใช้เครื่องนั้นได้อีกครั้งหนึ่ง ตลอดจนติดตั้งโปรแกรมพรางตาผู้ใช้คอมพิวเตอร์ให้รู้สึกว่าเครื่องยังเป็นเครื่องของตนเองอยู่ โดยไม่สามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพราะโปรแกรม ROOTKITS จะแอบซ่อนโปรแกรมต่างๆ ของแฮกเกอร์เอาไว้ 

9. ภัยการโจมตีระบบไร้สาย
ปัจจุบันระบบไร้สายเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการใช้งานระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือเทคโนโลยีเครือข่าย LAN ไร้สาย (wireless LAN) ซึ่งกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของแฮกเกอร์ โดยมุ่งการโจมตีโทรศัพท์มือถือไปที่ช่องโหว่ bluetooth บนระบบ symbian หรือ Windows mobile ในโทรศัพท์มือถือ และการโจมตีเครือข่าย LAN ไร้สายด้วยวิธี war driving และ war chalking ที่นิยมเจาะระบบ Wi-Fi ในเมืองหลวงใหญ่ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในย่านธุรกิจ แล้วสร้างแผนที่ Wi-Fi map ไว้ให้แฮกเกอร์ด้วยกันเข้ามาโจมตีระบบต่อ (เรียกว่าทำงานเป็นทีม) 

10. ภัยการโจมตีโดยใช้ Google 
เป็นภัยที่เกิดจากการประยุกต์ใช้งาน Google search engine ในแบบแฮกเกอร์ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของผู้สร้าง Google ที่ต้องการให้ทุกคนใช้งาน Google ให้เกิดประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ทำให้โลกไร้พรมแดน โดยทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกันทั่วโลก 

แต่ด้วยความสามารถพิเศษของโปรแกรมค้นหาข้อมูลของ Google ทำให้ข้อมูลบางอย่างที่ต่อเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตโดยเก็บข้อมูลไว้ใน web server องค์กรอาจถูกโปรแกรมค้นหาข้อมูลอันชาญฉลาดของ Google เข้ามาตรวจพบเจอ แล้วนำไปแสดงเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของ Google เพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้โดยทาง Google เองก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของ website เหล่านั้น 

ทั้งนี้ 10 ภัยที่กำลังมาแรงตามยุคสมัยที่โลกไร้พรมแดน ถึงแม้ว่าจะค่อนข้างน่ากลัวและมีผลกระทบต่อภัยชีวิตประจำวันของเรา แต่เราก็สามารถป้องกันได้ ถ้าเรามีความเข้าใจภัยดังกล่าวอย่างเพียงพอ การฝึกอบรมให้ความเข้าใจกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ตลอดจนผู้บริหารระดับสูง ที่เรียกว่า "information security awareness training" จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกองค์กรต้องนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตในองค์กรมีความปลอดภัยมากขึ้น
ขอขอบคุณที่มา http://www.clipmass.com/story/2892

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การตั้งวาล์ว หาโอเวอร์แลป

การตั้งวาล์ว หาจุดโอเวอร์แลป

การตั้งวาล์ว เครื่องจะจุดระเบิด 1-3-4-2 สูบที่1กะ4จะขึ้นพร้อมกัน สูบที่1ขึ้นสู่ tdcในจะหวะอัดจะจุดระเบิดวาล์วจะว่าง นี่สูบ4จะขึ้นสู่tdcเป็นจังหวะคายจะเป็นโอเวอร์แลป(คือไอเสียเริ่มปิดไอดีกำลังจะมา) ตั้งสูบที่1ดูสูบที่4โอเวอร์แลป ตั้งเสร็จหมุนเครืองเดินหน้าไปที่6นาฬิกาหรือ180องศาสูบ3กับ2จะขึ้นสู่tdc ให้ดูสูบไหนโอเวอแลปแสดงว่าจะหวะคาย อีกสูบจะเป็นจะหวะอัดให้ตั้งสูบนั้น คือ2โอเวอแลป ให้ตั้ง3 เสร็จหมุนต่อไปอีก180องศา(ครบรอบแรก)สูบ1กะ4จะขึ้นมาอีกครั้งคราวนี้สูบ1จะคายสูบ4จะอัด ตั้งสูบ4เสร็จหมุนต่ออีก180องศาสูบ3กะ2 จะขึ้นมาอีกรอบตั้ง2เสร์จหมุนต่อไปอีก180องศา(ครบสองรอบ)สูบ1กะ4จะขึ้นมาอีกครั้ง ก็กลับเข้าสู่ที่เดิม สรุปหมุนเครื่องสองรอบจบ 

เครื่องสี่จังหวะจะจุดระเิบิดครบทุกสูบเมื่อมันหมุนครบสองรอบ ไม่ว่าจะเครื่องกี่สูบ ยกตัวอย่างเครื่อง6สูบ จุดระเบิดแบบนี้ 1-5-3-6-2-4 สูบ1 กับสูบ6ขึ้นพร้อมกัน สูบ1 อัดสูบ6คายถ้าจะตั้งสูบ1ให้ดูสูบ6 โอเวอแลป ตั้งสูบ1เสร็จหมุนเครื่องไปอีกที่สี่นาฬิกาหรือ120องศา สูบ5กับ2จะขึ้นสู่tdc ในสองสูบนี้มีหนึ่งสูบเป็นอัดและอีกหนึ่งสูบเป็นคาย สูบไหนคายดูที่โอเวอแลป สูบไหนอัดดูที่วาล์วจะว่าง จะหมุนไปอย่างนี้จนคบสองรอบ สูบละ120องศา จุดครบ6สูบก็เท่ากับ360องศา2รอบ 

ถ้าเป็นเครื่อง12สูบ ก็จะจุดระเบิดครบทั้ง12สูบ ในสองรองเครื่องเหมือนกันแต่การจุดระเบิดจะถี่ขึ้น 1-12-5-8-3-10-6-7-2-11-4-9 คือการจุดระเบิดจากสูบ1ไปสูบ12ก็จะจุดระเบิดใกล้กันคือตั้งสูบ1ดูโอเวอแลป6 เสร็จหมุนเครื่องไปที่สองนาฬิกาหรือเดินหน้าไป60องศาสูบที่12กับ7จะขึ้นคู่กัน ช่วงการจุดจากสูบไปสูบห่างกัน60องศา รอบแรก360องศาจุด1-12-5-8-3-10 รอบที่สองอีก360จุดที่เหลือ 

เครื่อง2-4-6-8-10-12สูบ ตั้งวาล์วไม่ยากดูโอเวอร์แลปง่าย เครื่อง3สูบหรือ5สูบดิ ถ้าไม่แม่นวาล์วยัน ช่างเขาว่าเครื่อง3สูบทางที่ดีควรจะขีดเส้นแบ่งองศาไว้ที่ไวเบรชั่นแดมเปอร์ (ที่ฟลายวีลคงจะตีเส้นไม่ได้เพราะมันชนกะเกียร์) 

เครื่อง 12สูบวี บางรุ่น รอบเดินเบามันจุดระเบิด แค่แบ๊งค์เดียว ก็ทำงานแค่6สูบ อีก6สูบที่เหลือก็เป็นภาระของสูบที่จุดระเบิด

โอเวอร์แลป (Over lap) คือ ช่วงจังหวะหนึ่งที่วาล์วไอเสียกำลังจะปิดและวาล์วไอเสียกำลังจะเปิด

ประโยชน์ของโอเวอร์แลป คือ ใช้แรงดูดจากไอเสียที่ไหลออก มาช่วยดึงไอดีเข้า

แล้วทำไมรถแข่งกับรถบ้านจังหวะโอเวอร์แลปจึงยาวนานต่างกัน?

ก็เพราะรถแข่งนั้นต้องใช้รอบสูงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในรอบสูงๆ นั้นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเร็วมากๆ ลองนึกภาพดูว่าใน 1 นาทีเครื่องยนต์ต้องหมุน 9000 รอบ หรือ 150 รอบใน 1 วินาที!!

ที่ความเร็วขนาดนั้น จังหวะโอเวอร์แลปน้อยๆ ระดับ 4-5 องศา (ของข้อเหวี่ยง) เหมือนรถบ้านแทบไม่มีประโยชน์เลย สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นเร็วมากเสียจนยังไม่ทันได้ใช้ประโยชน์จากไอเสียมาดึงดูดไอดี เจ้าวาล์วไอเสียก็ปิดเสียแล้ว

จึงจำเป็นต้องมีการตั้งจัวหวะโอเวอร์แลปให้มีช่วงเวลายาวนานขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากการดูดไอดีของไอเสียได้ในรอบสูงๆ

การที่จังหวะโอเวอร์แลปมีช่วงเวลายาวนานมากๆ นั้น ในรอบต่ำๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ เป็นไปอย่างช้า ช่วงเวลาที่วาล์วไอดีปิดแล้ว แต่วาล์วไอเสียยังเปิดอยู่จะนานมากไปเสียจนไอดีบางส่วนเล็ดลอดออกมากับไอเสียได้ เกิดเป็นไฟออกมาทางท่อไอเสียหรือที่เราเรียกว่า Back fire.............

เจ้า Back fire นี่ถึงมันจะดูเท่ดี (ผมว่าเท่นะ) แต่มันไม่มีประโยชน์เลย เพราะแทนที่จะได้กำลังจากการระเบิดของไอดีออกมาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย กับต้องเสียไอดีบางส่วนออกไปกับไอเสียอย่างเปล่าๆ ปลี้ๆ

อย่างที่บอกครับ ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ................. อยากให้รอบสูงจัด รอบต่ำต้องยอมหาย / อยากให้รอบต่ำจัด รอบสูงก็ต้องหาย

นี่แค่เรื่องโอเวอร์แลปเน้อ ยังมีองศาของแคมชาร์ป ระยะยกของแคมชาร์ป ขนาดวาล์ว ขนาดพอร์ท และอื่นๆ อีกสารพัด ที่เป็นตัวแปรในเรื่องกำลังที่จะออกมาในรอบต่ำหรือสูง

โมเครื่อง na ให้แรงๆ เป็นเรื่องน่าปวดหัวครับ เพราะการที่จะแรงได้ ล้วนมาจากการใช้รอบสูง ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้งานยามรถเยอะๆ ไม่มีที่ให้ลากรอบเลย

อีกอย่าง การลากรอบสูงๆ ก็เกิดการสึกหรอสูงมาก และต้องใช้งบประมาณมากในการปรับปรุงไส้ในให้รองรับรอบจัดขนาดนั้นได้