มาดูบล็อกผมกันครัช ^..^

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การตั้งวาล์ว หาโอเวอร์แลป

การตั้งวาล์ว หาจุดโอเวอร์แลป

การตั้งวาล์ว เครื่องจะจุดระเบิด 1-3-4-2 สูบที่1กะ4จะขึ้นพร้อมกัน สูบที่1ขึ้นสู่ tdcในจะหวะอัดจะจุดระเบิดวาล์วจะว่าง นี่สูบ4จะขึ้นสู่tdcเป็นจังหวะคายจะเป็นโอเวอร์แลป(คือไอเสียเริ่มปิดไอดีกำลังจะมา) ตั้งสูบที่1ดูสูบที่4โอเวอร์แลป ตั้งเสร็จหมุนเครืองเดินหน้าไปที่6นาฬิกาหรือ180องศาสูบ3กับ2จะขึ้นสู่tdc ให้ดูสูบไหนโอเวอแลปแสดงว่าจะหวะคาย อีกสูบจะเป็นจะหวะอัดให้ตั้งสูบนั้น คือ2โอเวอแลป ให้ตั้ง3 เสร็จหมุนต่อไปอีก180องศา(ครบรอบแรก)สูบ1กะ4จะขึ้นมาอีกครั้งคราวนี้สูบ1จะคายสูบ4จะอัด ตั้งสูบ4เสร็จหมุนต่ออีก180องศาสูบ3กะ2 จะขึ้นมาอีกรอบตั้ง2เสร์จหมุนต่อไปอีก180องศา(ครบสองรอบ)สูบ1กะ4จะขึ้นมาอีกครั้ง ก็กลับเข้าสู่ที่เดิม สรุปหมุนเครื่องสองรอบจบ 

เครื่องสี่จังหวะจะจุดระเิบิดครบทุกสูบเมื่อมันหมุนครบสองรอบ ไม่ว่าจะเครื่องกี่สูบ ยกตัวอย่างเครื่อง6สูบ จุดระเบิดแบบนี้ 1-5-3-6-2-4 สูบ1 กับสูบ6ขึ้นพร้อมกัน สูบ1 อัดสูบ6คายถ้าจะตั้งสูบ1ให้ดูสูบ6 โอเวอแลป ตั้งสูบ1เสร็จหมุนเครื่องไปอีกที่สี่นาฬิกาหรือ120องศา สูบ5กับ2จะขึ้นสู่tdc ในสองสูบนี้มีหนึ่งสูบเป็นอัดและอีกหนึ่งสูบเป็นคาย สูบไหนคายดูที่โอเวอแลป สูบไหนอัดดูที่วาล์วจะว่าง จะหมุนไปอย่างนี้จนคบสองรอบ สูบละ120องศา จุดครบ6สูบก็เท่ากับ360องศา2รอบ 

ถ้าเป็นเครื่อง12สูบ ก็จะจุดระเบิดครบทั้ง12สูบ ในสองรองเครื่องเหมือนกันแต่การจุดระเบิดจะถี่ขึ้น 1-12-5-8-3-10-6-7-2-11-4-9 คือการจุดระเบิดจากสูบ1ไปสูบ12ก็จะจุดระเบิดใกล้กันคือตั้งสูบ1ดูโอเวอแลป6 เสร็จหมุนเครื่องไปที่สองนาฬิกาหรือเดินหน้าไป60องศาสูบที่12กับ7จะขึ้นคู่กัน ช่วงการจุดจากสูบไปสูบห่างกัน60องศา รอบแรก360องศาจุด1-12-5-8-3-10 รอบที่สองอีก360จุดที่เหลือ 

เครื่อง2-4-6-8-10-12สูบ ตั้งวาล์วไม่ยากดูโอเวอร์แลปง่าย เครื่อง3สูบหรือ5สูบดิ ถ้าไม่แม่นวาล์วยัน ช่างเขาว่าเครื่อง3สูบทางที่ดีควรจะขีดเส้นแบ่งองศาไว้ที่ไวเบรชั่นแดมเปอร์ (ที่ฟลายวีลคงจะตีเส้นไม่ได้เพราะมันชนกะเกียร์) 

เครื่อง 12สูบวี บางรุ่น รอบเดินเบามันจุดระเบิด แค่แบ๊งค์เดียว ก็ทำงานแค่6สูบ อีก6สูบที่เหลือก็เป็นภาระของสูบที่จุดระเบิด

โอเวอร์แลป (Over lap) คือ ช่วงจังหวะหนึ่งที่วาล์วไอเสียกำลังจะปิดและวาล์วไอเสียกำลังจะเปิด

ประโยชน์ของโอเวอร์แลป คือ ใช้แรงดูดจากไอเสียที่ไหลออก มาช่วยดึงไอดีเข้า

แล้วทำไมรถแข่งกับรถบ้านจังหวะโอเวอร์แลปจึงยาวนานต่างกัน?

ก็เพราะรถแข่งนั้นต้องใช้รอบสูงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในรอบสูงๆ นั้นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเร็วมากๆ ลองนึกภาพดูว่าใน 1 นาทีเครื่องยนต์ต้องหมุน 9000 รอบ หรือ 150 รอบใน 1 วินาที!!

ที่ความเร็วขนาดนั้น จังหวะโอเวอร์แลปน้อยๆ ระดับ 4-5 องศา (ของข้อเหวี่ยง) เหมือนรถบ้านแทบไม่มีประโยชน์เลย สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นเร็วมากเสียจนยังไม่ทันได้ใช้ประโยชน์จากไอเสียมาดึงดูดไอดี เจ้าวาล์วไอเสียก็ปิดเสียแล้ว

จึงจำเป็นต้องมีการตั้งจัวหวะโอเวอร์แลปให้มีช่วงเวลายาวนานขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากการดูดไอดีของไอเสียได้ในรอบสูงๆ

การที่จังหวะโอเวอร์แลปมีช่วงเวลายาวนานมากๆ นั้น ในรอบต่ำๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ เป็นไปอย่างช้า ช่วงเวลาที่วาล์วไอดีปิดแล้ว แต่วาล์วไอเสียยังเปิดอยู่จะนานมากไปเสียจนไอดีบางส่วนเล็ดลอดออกมากับไอเสียได้ เกิดเป็นไฟออกมาทางท่อไอเสียหรือที่เราเรียกว่า Back fire.............

เจ้า Back fire นี่ถึงมันจะดูเท่ดี (ผมว่าเท่นะ) แต่มันไม่มีประโยชน์เลย เพราะแทนที่จะได้กำลังจากการระเบิดของไอดีออกมาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย กับต้องเสียไอดีบางส่วนออกไปกับไอเสียอย่างเปล่าๆ ปลี้ๆ

อย่างที่บอกครับ ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ................. อยากให้รอบสูงจัด รอบต่ำต้องยอมหาย / อยากให้รอบต่ำจัด รอบสูงก็ต้องหาย

นี่แค่เรื่องโอเวอร์แลปเน้อ ยังมีองศาของแคมชาร์ป ระยะยกของแคมชาร์ป ขนาดวาล์ว ขนาดพอร์ท และอื่นๆ อีกสารพัด ที่เป็นตัวแปรในเรื่องกำลังที่จะออกมาในรอบต่ำหรือสูง

โมเครื่อง na ให้แรงๆ เป็นเรื่องน่าปวดหัวครับ เพราะการที่จะแรงได้ ล้วนมาจากการใช้รอบสูง ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้งานยามรถเยอะๆ ไม่มีที่ให้ลากรอบเลย

อีกอย่าง การลากรอบสูงๆ ก็เกิดการสึกหรอสูงมาก และต้องใช้งบประมาณมากในการปรับปรุงไส้ในให้รองรับรอบจัดขนาดนั้นได้